ตัวหนังสือวิ่ง

ยินดีต้อนรับ

วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถิติสำหรับการวิจัย

สถิติสำหรับการวิจัย

สถิติสำหรับการวิจัย

สถิติสำหรับการวิจัย

สถิติสำหรับการวิจัย

สถิติสำหรับการวิจัย

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

The Literature Review

ศาสตร์การสอน : วิธีการสอนโดยการใช้เกม


วิธีสอนโดยการใช้เกม (Game) 


วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้เกม  (Game) 
ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 365-369) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการใช้เกม  (Game)   สรุปได้ดังนี้

ก. ความหมาย

วิธีสอนโดยใช้เกม คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา และนำเนื้อหาและข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุปการเรียนรู้ 

ข. วัตถุประสงค์

วิธีสอนโดยใช้เกม เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ อย่างสนุกสนานและท้าทายความสามารถ โดยผู้เรียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมสูง

ค.องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของวิธีสอน

  1. มีผู้สอนและผู้เรียน
  2. มีเกมและกติกาการเล่น
  3. มีการเล่นเกมตามกติกา
  4. มีการอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่น วิธีการเล่น และพฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นหลังการเล่น
  5. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ง.ขั้นตอนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการสอน

  1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
  2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
  3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
  4. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

จ.เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดนใช้เกมให้มีประสิทธิภาพ

1.การเลือกและนำเสนอเกม  เกมการศึกษา เป็นเกมที่มีวัตถุประสงค์ มุ่งให้ผู้เล่นเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มิใช่เล่นเพียงเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้สอนอาจนำเกมที่เล่นเพื่อความบันเทิงเป็นสำคัญ มาใช้ในการสอน โดยนำมาเพิ่มขั้นตอนสำคัญคือ การวิเคราะห์อภิปรายเพื่อการเรียนรู้ เกมที่ได้รับการออกแบบให้เป็นเกมการศึกษา มี 3 ประเภท ประกอบด้วย
  • เกมแบบไม่มีการแข่งขัน เช่น เกมการสื่อสาร เกมการตอบคำถาม เป็นต้น
  • เกมแบบแข่งขัน มี ผู้แพ้ ผู้ชนะ เกมส่วนใหญ่จะเป็นเกมแบบนี้ เพราะการแข่งขันช่วยให้การเล่นเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้น
  • เกมจำลองสถานการณ์ เป็นเกมที่จำลองความเป็นจริง สถานการณ์จริง ซึ่งผู้เล่นจะต้องคิด ตัดสินใจจากข้อมูลที่มีและได้รับผลของการตัดสินในเหมือนกับที่ควรจะได้รับความเป็นจริง
2.การชี้แจงวิธีการเล่นและกติกาการเล่น กติกาการเล่น เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเล่นเกม เพราะกติกานี้จะตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการเล่นให้เป็นไปตามวััตถุประสงค์ ผู้สอนควรศึกษากติกาการเล่นและวิเคราะห์ กติกาว่า กติกาแต่ละข้อมีขึ้นด้วยวัตถุประสงค์อะไรและควรดูแลให้ผู้เล่นปฏิบัติตามกติกาของการเล่นอย่างเคร่งครัด

3.การเกม การเล่นเกมควรให้เป็นไปตามขั้นตอน และในบางกรณีต้องควบคุมเวลาในการเล่นด้วย ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นเกม ผู้สอนควรติดตามพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด และควรบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ เพื่อนำไปใช้ในการอภิปรายหลังการเล่น หากเป็นไปได้ผู้สอนควรมอบหมายผู้เรียนบางคนให้ทำหน้าที่สังเกณฑ์การเล่นและควบคุมกติกาการเล่นด้วย
4.การอภิปรายหลังการเล่น การอภิปราย ควรมุ่งประเด็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสอนนั้นๆ กล่าวคือ ถ้าการใช้เกมนั้นมุ่งเพียงเป็นเครื่องมือฝึกทักษะให้ผู้เรียน การอภิปรายก็ควรมุ่งไปที่ทักษะนั้นๆ ว่าผู้เรียนได้พัฒนาทักษะนั้นเพียงใด ประสบความสำเร็จตามต้องการหรือไม่ และจะมีวิธีใดที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น หรือ หากมุ่งเนื้อหาสาระจากเกม ก็ควรอภิปรายในประเด็นที่ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระอะไรจากเกมบ้าง รู้ได้อย่างไร ด้วยวิธีใด มีความเข้าใจเนื้อหาสาระนั้นอย่างไร ได้ความเข้าใจนั้นมาจากการเล่นเกมตรวส่วนใด เป็นต้น

ฉ.ข้ิอดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้เกม

1.ข้อดี
  • เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง ผู้เรียนได้รับความสุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
  • เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
  • เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอนและผู้เรียนชอบ
2.ข้อจำกัด
  • เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก
  • เป็นวิธีสอนที่มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเกมบางเกมต้องซื้อหามาโดยเฉพาะเกมจำลองสถานการณ์บางเกมมีราคาสูงมาก
  • เป็นวิธีสอนที่ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้สอน ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม จึงจะสามารถสร้างได้
  • เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก 
  • เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ไ้ด้ตามวัตถุประสงค์
บรรณานุกรม
ทิศนา แขมมณี (2552).  ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศาสตร์การสอน : วิธีสอนการใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)


วิธีสอนการใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) 



วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation) 
ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 370-373) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการใช้ สถานการณ์จำลอง  (Simulation)   สรุปได้ดังนี้

ก.ความหมาย

วิธีสอนโดยการใช้สถานการณ์จำลอง คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ โดยใช้ข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง

ข. วัตถุประสงค์

วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริงและเกิดความเข้าใจในสถานการณ์หรือเรื่องที่มีตัวแปรจำนวนมากที่มีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน

ค. องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ ของวิธีสอน

  1. มีผู้สอนและผู้เรียน
  2. มีสถานการณ์ ข้อมูล บทบาท และกติกา ที่สะท้อนความเป็นจริง
  3. ผู้เล่นในสถานการณ์มีปฏิสัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ในสถานการณ์นั้น
  4. ผู้เล่นหรือผู้สวมบทบาทมีการใช้ข้อมูลที่ให้ในการตัดสินใจ
  5. การตัดสินใจส่งผลต่อผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง
  6. มีการอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูลและกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่นและผลการเล่น  เพื่อการเรียนรู้
  7. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ง. ขั้นตอนสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ ของการสอน
  1. ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลอง
  2. ผู้สอนนำเสนอสถานการณ์จำลอง บทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น
  3. ผู้เรียน เลือกบทบาทที่จะเล่น หรือผู้สอนกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
  4. ผู้เรียนเล่นตามกติกาที่กำหนด
  5. ผู้สอนและผู้เรียน ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อมูล และกติกาของสถานการณ์ วิธีการเล่น พฤติกรรมการเล่น และผลการเล่น
  6. ผู้สอนและผู้เรียน สรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการเล่น
  7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ค. เทคนิค ข้อเสนอแนะต่างๆ ในการใช้วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ

  1. การเตรียมการ
  2. ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลองที่จะใช้สอน โดยอาจสร้างขึ้นเองหรืออาจเลือกสถานการณ์จำลองที่มีผู้สร้างไว้แล้ว ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด เมื่อมีสถานการณ์จำลองแล้ว  ผู้สอนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในสถานการณ์จำลองนั้นและควรลงเล่นด้วยตนเอง เพื่อจะได้ทราบถึงอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ในการเล่น จะได้จัดเตรียมการป้องกันหรือแก้ไขไว้ให้พร้อม
  3. การนำเสนอสถานการณ์จำลอง   เนื่องจากสถานการณ์จำลองส่วนใหญ่ จะมีความซับซ้อนพอสมควรไปถึงระดับมาก การนำเสนอสถานการณ์ บทบาท และกติกา จำเป็นต้องมีการเตรียมการอย่างดี ควรนำเสนออย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่สับสน และควรจัดข้อมูลทุกอย่างไว้ให้พร้อม ควรเริ่มด้วยการบอกเหตุผลและวัตถุประสงค์กว้างๆ แก่ผู้เรียนว่า การเล่นในสถานการณ์จำลองนี้จะให้อะไรและเหตุใดจึงมาเล่นกัน ต่อไปจึงค่อยให้ภาพรวมของสถานการณ์จำลองทั้งหม แล้วจึงให้รายละเอียดที่จำเป็น เช่น กติกา บทบาท เมื่อทุกคนเข้าใจพอสมควรแล้ว จึงให้เล่นได้
  4. การเลือกบทบาท เมื่อผู้เรียนเข้าใจภาพรวมและกติกาแล้ว ผู้เรียนทุกคนควรได้รับบทบาทในการเล่น ซึ่งผู้เรียนอาจเป็นผู้เลือกเอง หรือในบางกรณีผู้สอนอาจกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน 
  5. การเล่นในสถานการณ์จำลอง ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ผู้สอนควรติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนและจดบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการการเรียนเรียนรู้ของผู้เรียน ให้คำปรึกษาตามความจำเป็น รวมทั้งแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
  6. การอภิปราย การอภิปรายควรมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริงว่า ในความเป็นจริง สถานการณ์เป็นอย่างไรและอะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งผู้เรียนมักได้เรียนรู้จากการเล่นของตนในสถานการณ์นั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้เรียนรู้ความเป็นจริงแล้ว การอภิปรายขยายต่อไปว่า เราควรจะให้สถานการณ์นั้นคงอยู่ หรือ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ 
ง. ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ 

ข้อดี
  • เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ เกิดความเข้าใจ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่เห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง
  • เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมาก ผู้เรียนได้เรียนอย่างสนุกสนาน การเรียนรู้มีความหมายตู่อตัวผู้เรียน
  • เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะกระบวนการต่างๆจำนวนมาก เช่น กระบวนการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการสื่อสาร กระบวนการตัดสินใจ กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการคิด เป็นต้น
ข้อจำกัด
  • เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง เพราะต้องมีวัสดุ อุปกรณ์ และข้อมูลสำหรับผู้เล่นทุกคน และสถานการณ์จำลองบางเรื่องมีราคาแพง
  • เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก เพราะต้องให้เวลาแก่ผู้เล่นในการเล่นและการอภิปราย
  • เป็นวิธีการสอนที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียดและลองเล่นด้วยตนเองและในกรณีที่ต้องสร้างสถานการณ์เอง ยิ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
  • เป็นวิธีการสอนที่ต้องพึ่งสถานการณ์จำลอง ถ้าไม่มีสถานการณ์จำลองที่ตรงกับวัถุประสงค์หรือความต้องการ ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเอง ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์เพียงพอ ก็จะไม่สามารถสร้างได้
  • เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลาย จึงเป็นการยากสำหรับผู้สอนในการนำการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
  บรรณานุกรม
ทิศนา แขมมณี (2552).  ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศาสตร์การสอน : การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเ็ป็นหลัก(Problem Based Instruction)


การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเ็ป็นหลัก

 (Problem Based Instruction) 

วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem  Based Instruction) 

ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 137-138) ได้ให้หลักการ นิยาม ตัวบ่งชี้ ของวิธีการสอน โดยการใช้ปัญหาเป็นหลัก  สรุปได้ดังนี้

ก.หลักการ

วิธีสอนโดยการใช้การปัญหาเป็นหลักในการสอน ตั้งอยู่บนหลักการต่อไปนี้

  • ปัญหาสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดภาวะงุนงงสงสัยและความต้องการที่จะแสวงหาความรู้เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าว การให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาจริงหรือสถานการณ์ต่างๆ และร่วมกันคิดหนทางแก้ปัญหานั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และสามารถพัฒนาทักษะ กระบวนการต่างๆ อันเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ข.นิยาม 

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นการจัดสภาพการณ์ การเรียน การสอนที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย โดยผู้สอนอาจนำผู้เรียนไปเผชิญสถานการณ์ปัญหาจริง หรือผู้สอนอาจจัดสภาพการณ์ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหา และฝึกกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ในปัญหานั้นอย่างชัดเจน ได้เห็นทางเลือกและวิธีการที่หลากหลายในการแก้ปัญหานั้นๆ รวมทั้งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความใฝ่รู้ เกิดทักษะ กระบวนการคิดและกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ 


ค.ตัวบ่งชี้ 

  1. ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันเลือกปัญหาที่ตรงกับความสนใจหรือความต้องการของผู้เรียน
  2. ผู้สอนและผู้เรียนใีการออกไปเผชิญสถานการณ์ปัญหาจริงหรือผู้สอนจัดสภาพให้ผู้เรียนเผชิญปัญหา
  3. ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา
  4. ผู้เรียนมีการวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน
  5. ผู้สอนมีการให้คำปรึกษาแนะนำ และช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนในการแสวงหาแหล่งข้อมูล การศึกษาข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
  6. ผู้เรียนมีการศึกษาค้นฏิบัตคว้า และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  7. ผู้สอนมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลายและพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสม
  8. ผู้เรียนมีการลงมือแก้ปัญหา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปและประเมินผล
  9. ผู้สอนมีการติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรียนและให้คำปรึกษา
  10. ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการ 

ศาสตร์การสอน: วิธีการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก (Project Based Instruction)


การจัดการเรียนการสอน

โดยใช้โครงการเป็นหลัก

 (Project Based Instruction) 


วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้โครงการเป็นหลัก (Project Based Instruction) 

ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 138-140) ได้ให้หลักการ นิยาม ตัวบ่งชี้ ของวิธีการสอน โดยการใช้โครงการเป็นหลัก  สรุปได้ดังนี้

ก.หลักการ

วิธีสอนโดยการใช้การโครงการหรือโครงงานในการสอน ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อและหลักการต่อไปนี้

  1. โครงการหรือโครงงาน เป็นกิจกรรมที่มีบริบทจริงที่เชื่อมโยงอยู่ ดังนั้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงสัมพันธ์กับความเป็นจริง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน
  2. การให้ผู้เรียนทำโครงการหรือโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการสืบสวบ(process of inquiry) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องใช้การคิดขั้นสูงที่ซับซ้อนขึ้น ดังนั้น จึงเป็นช่องทางที่ดีในการพัฒนากระบวนการทางสติปัญญาของผู้เรียน
  3. การจัดการเรียนการสอน โดยใช้โครงการเป็นหลัก ช่วยให้ผู้เรียนได้ผลิตงานที่เป็นรูปธรรมออกมา ผลผลิตที่แสดงออกถึงความรู้ ความคิดของผู้เรียนนี้ สามารถนำมาอภิปรายแลกเปลี่ยนและวิพากษ์ วิจารณ์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งผลการวิจัยทางด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ได้ชี้ชัดว่าการเรียนรู้จะพัฒนาขึ้นหากความรู้และทักษะต่างๆ สามารถแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน
  4. การแสดงผลงานต่อสาธารณชน สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการทำงานให้แก่ผู้เรียนได้ ซึ่งแรงจูงใจจะมีผลต่อความใส่ใจ ความกระตือรือร้นและความอดทน ในการแสวงหาความรู้ การศึกษาความรู้ และการใช้ความรู้
  5. การให้ผู้เรียนทำโครงการหรือโครงงาน นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการในการสืบสอบและการแก้ปัญหาแล้ว ยังสามารถช่วยดึงศักยภาพต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ด้วย 

ข.นิยาม 

วิัธีสอนโดยการใช้โครงการเป็นหลัก (Project Based Instruction) คือ การจัดสภาพการณ์ของการเรียน การสอน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนสนใจ โดยร่วมกันสำรวจ สังเกต และกำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนในการทำโครงการร่วมกัน ศึกษา หาข้อมูล ความรู้ที่จำเป็นและลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้จนได้ข้อค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่แล้วจึงเขียนรายงานและนำเสนอต่อสาธารณชน เก็บข้อมูล แล้วนำผลงานและประสบการณ์ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมด


ค.ตัวบ่งชี้ 

  1. ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายปัญหาต่างๆ ร่วมกัน ผู้เรียนมีการเลือกปัญหาที่ตนสนใจที่จะจัดทำเป็นโครงการหรือโครงงาน
  2. ผู้สอนมีการชี้แจงหรือทำความเข้าใจกับผู้เรียนถึงวัตถุประสงค์ในการทำโครงการ ความคาดหวังต่อการทำโครงการ วิธีการและกระบวนการในการดำเนินการ รวมทั้งบทบาทของผู้เรียนและผู้สอน
  3. ผู้เรียนมีการร่วมกันศึกษาความรู้ในเรื่องที่จะทำจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
  4. ผู้เรียนมีการร่วมกันวางแผนจัดทำโครงการ และการอภปรายผลการเรียนรู้ ผู้สอนมีการให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการทำโครงการตามความจำเป็น
  5. ผู้เรียนเขียนโครงการและนำเสนอผู้สอน ผู้สอนอาจให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือต่างๆ ตามความจำเป็น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป 
  6. ผู้เรียนมีการดำเนินงานตามแผนที่ได้กำหนด จนกระทั่งผลิตชิ้นงานออกมาได้ ผู้สอนมีบทบาทในการอำนวยความสะดวก ติดตามผลการดำเนินงานของผู้เรียน ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือ ตามสมควรและให้แรงเสริมตามสมควร
  7. ผู้สอนและผู้เรียนมีการนำเสนอผลงานของผู้เรียนออกมาแสดง ชี้แจง ร่วมกันวิพากษ์ วิจารณ์ผลงาน แลกเปลียนกัน
  8. ผู้เรียนมีการปรับปรุงผลงานและเขียนรายงาน
  9. ผู้เรียนมีการนำเสนอผลงานต่อสาธารณชน
  10. ผู้สอนมีการจัดให้ผู้เรียนนำเสนอผลงาน ประสบการณ์ และข้อมูล ทั้งหมดมาอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน และสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทำโครงการ
  11. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลทั้งด้านผลผลิต คือ ชิ้นงาน จากการทำโครงการและเนื้อหาความรู้ที่ได้เรียนรู้ กระบวนการและทักษะต่างๆ ที่ได้พัฒนาและเจตคติที่เกิดขึ้น 




















บรรณานุกรม

ทิศนา แขมมณี (2552).  ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศาสตร์การสอน : วิธีการสอนแบบการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)


วิธีสอนการใช้กรณีตัวอย่าง (Case) 


วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง  (Case) 
ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 362-364) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้

วิธีการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)  หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงและตอบประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น แล้วนำคำตอบและเหตุผลที่มาของคำตอบนั้นมาใช้เป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ 

วัตถุประสงค์ เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัู้เรีญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดของผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น

องค์ประกอบที่สำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน โดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)  

  • มีผู้สอนและผู้เรียน
  • มีกรณีเรื่องที่คล้ายกับเหตุการณ์จริง
  • มีประเด็นคำถามให้คิดพิจารณาหาคำตอบ
  • มีคำตอบที่หลากหลาย คำตอบไม่มีถูกผิดอย่างชัดเจนหรือแน่นอน
  • มีการอภิปรายเกี่ยวกับสภาพการณ์ ปัญหา มุมมอง และวิธีการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
  • มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ข้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน โดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)  

  • ผู้สอน/ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง


  • ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง





  • ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ
  • ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ


















  • ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียนและสรุปการเรียนรู้ร่วมกัน

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case) ให้มีประสิทธิภาพ

  • การเตรียมการ

    ก่อนการสอู้สอนจำเป็นต้องเตรียมกรณีตัวอย่างให้พร้อม กรณีตัวอย่างที่เหมาะสมจะต้องมีสาระ ซึ่งจะช่วยให้ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริง เมื่อได้กรณีตัวอย่างแล้วผู้สอนจะต้องเตรียมประเด็นคำถามสำหรับการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตามที่ต้องการ
  • การนำเสนอกรณีตัวอย่าง

    การนำเสนอทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์เป็นข้อมูลมาให้ผู้เรียนอ่าน การเล่าให้ฟัง หรือนำเสนอโดยใช้สื่อตามความเหมาะสม
  • การศึกษากรณีตัวอย่างและการอภิปราย

  • ผู้สอนควรแบ่งกลุู่้มให้ผู้เรีู้ยนเป็นกลุ่มย่อยและให้เวลาอย่างเพียงพอในการศึกษากรณีตัวอย่าง และคิดหาคำตอบ  ผู้เรียนแต่ละคนควรมีคำตอบของตนเตรียมไว้ก่อน แล้วจึงร่วมกันอภิปรายเป็นกลุ่มและนำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่ม เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ผู้สอนพึงตระหนักว่าการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างนี้ มิได้มุ่งที่ความถูกต้องของคำตอบ คำถามสำหรับการอภิปรายนี้ ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน แต่ต้องการให้ผู้ เรียนเห็นคำตอบและเหตุผลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดกว้างขึ้น มองปัญหาในแง่มุมที่หลากหลายขึ้น จะช่วยให้ผู้เรียนตัดสินใจมีความรอบคอบขึ้น ด้วยเหตุนี้การอภิปรายจึงมุ่งความสนใจไปที่เหตุผลหรือที่มาที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ไขปัญหาเป็นสำคัญ

ข้อดีการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case) 

  • เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
  • เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริงและได้ฝึกแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้น ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะแก้ปัญหาเมื่อเผชิญปัญหานั้นในสถานการณ์จริง
  • เป็นวิธีการสอนทีู่้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนสูง ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน
  • เป็นวิธีการสอนที่ได้ผลดีมากสำหรับกลุ่มผู้เรียนที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลายสาขา

ข้อจำกัดของการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)   

  • หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่กว้างขวางเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน
บรรณานุกรม
ทิศนา แขมมณี (2552).  ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศาสตร์การสอน : วิธีสอนการใช้การบรรยาย (Lecture)

วิธีสอนการใช้การบรรยาย (Lecture) 


วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้การบรรยาย (Lecture) 

ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 327-329) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการบรรยาย สรุปได้ดังนี้

วิธีการสอนโดยการใช้บรรยาย (Lecture)  หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ แล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบาย เนื้อหา สาระ หรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีใด วิธีหนึ่ง

วัตถุประสงค์ วิธีสอนโดยการใช้การบรรยายเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหา สาระหรือข้อความรู้จำนวนมากพร้อมๆ กัน ได้ในเวลาที่จำกัด

องค์ประกอบที่สำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน โดยการใช้บรรยาย (Lecture)  

  • มีผู้สอนและผู้เรียน
  • มีการบรรยาย ( พูด บอก เล่า อธิบาย ) โดยผู้สอน
  • มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย

ข้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน โดยการใช้บรรยาย (Lecture)  

  • ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย
  • ผู้สอนบรรยาย ( พูด บอก เล่า อธิบาย ) เนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
  • ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการสอนโดยการใช้บรรยาย (Lecture)  ให้มีประสิทธิภาพ

  • ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาเนื้อหาสาระที่จะบรรยายให้เข้าใจแจ่มแจ้ง จัดลำดับเนื้อหาสาระว่าสิ่งใด พูดก่อน พูดหลัง และจะเชื่อมโยงกันอย่างไร ควรหาตัวอย่างประกอบการบรรยายหรือใช้สือช่วย นอกจากนี้ผู้สอนควรมีโครงร่าง (outline) สำหรับการบรรยายและมีเอกสารประกอบการบรรยาย
  • เมื่อเริ่มการบรรยาย ควรเร้าความสนใจของผู้เรียนและพยายามรักษาความสนใจให้คงอยู่ตลอดการบรรยาย ด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การใช้ปัญหาเป็นสิ่งเร้า การใช้การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การใช้สื่อประกอบ การใช้การซักถามประกอบการบรรยาย การยกตัวอย่างประกอบการบรรยาย การใช้อารมณ์ขัน การเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามและแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
  • การอภิปรายซักถามและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ก่อนยุติการบรรยาย ควรสรุปสาระสำคัญของการบรรยายและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามหรือเปิดโอกาสอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หลังจากนั้นควรมีการทดสอบการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การสุ่มถาม การให้ทำแบบทดสอบ เป็นต้น

ข้อดีการสอนโดยการใช้บรรยาย (Lecture)  

  • เป็นวิธีการสอนที่ใช้เวลาน้อย เมื่อเทียบกับการสอนวิธีแบบอื่นๆ
  • เป็นวิธีสอนที่ใช้กับผู้เรียนจำนวนมากได้
  • เป็นวิธีการสอนที่สะดวกไม่ยุ่งยาก
  • เป็นวิธีการสอนที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้มาก

ข้อจำกัดของการสอนโดยการใช้บรรยาย (Lecture)  

  • ผู้เรียนมีบทบาทน้อย อาจทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย
  • เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยความสามารถของผู้บรรยาย ถ้าผู้บรรยายไม่มีศิลปะในการบรรยาย จะส่งผลให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
  • ไม่สามารถตอบสนองความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล
บรรณานุกรม

ทิศนา แขมมณี (2552).  ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.