ตัวหนังสือวิ่ง

ยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศาสตร์การสอน : วิธีการสอนแบบการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)


วิธีสอนการใช้กรณีตัวอย่าง (Case) 


วิธีการสอน เป็นขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีโอกาสศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน พบวิธีการสอนมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน ซึ่งในที่นี้ จะนำเสนอวิัธีสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง  (Case) 
ทิศนา แขมมณี (2552,หน้า 362-364) ได้ให้ความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ขั้นตอน เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้

วิธีการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)  หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องที่สมมติขึ้นจากความเป็นจริงและตอบประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น แล้วนำคำตอบและเหตุผลที่มาของคำตอบนั้นมาใช้เป็นข้อมูลในการอภิปราย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ 

วัตถุประสงค์ เป็นวิธีการที่มุ่งให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัู้เรีญหาโดยไม่ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดของผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น

องค์ประกอบที่สำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน โดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)  

  • มีผู้สอนและผู้เรียน
  • มีกรณีเรื่องที่คล้ายกับเหตุการณ์จริง
  • มีประเด็นคำถามให้คิดพิจารณาหาคำตอบ
  • มีคำตอบที่หลากหลาย คำตอบไม่มีถูกผิดอย่างชัดเจนหรือแน่นอน
  • มีการอภิปรายเกี่ยวกับสภาพการณ์ ปัญหา มุมมอง และวิธีการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
  • มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

ข้นตอนสำคัญ (ที่ขาดไม่ได้) ของวิธีสอน โดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)  

  • ผู้สอน/ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง


  • ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง





  • ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ
  • ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ


















  • ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของผู้เรียนและสรุปการเรียนรู้ร่วมกัน

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆ ในการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case) ให้มีประสิทธิภาพ

  • การเตรียมการ

    ก่อนการสอู้สอนจำเป็นต้องเตรียมกรณีตัวอย่างให้พร้อม กรณีตัวอย่างที่เหมาะสมจะต้องมีสาระ ซึ่งจะช่วยให้ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ มีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริง เมื่อได้กรณีตัวอย่างแล้วผู้สอนจะต้องเตรียมประเด็นคำถามสำหรับการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตามที่ต้องการ
  • การนำเสนอกรณีตัวอย่าง

    การนำเสนอทำได้หลายวิธี เช่น การพิมพ์เป็นข้อมูลมาให้ผู้เรียนอ่าน การเล่าให้ฟัง หรือนำเสนอโดยใช้สื่อตามความเหมาะสม
  • การศึกษากรณีตัวอย่างและการอภิปราย

  • ผู้สอนควรแบ่งกลุู่้มให้ผู้เรีู้ยนเป็นกลุ่มย่อยและให้เวลาอย่างเพียงพอในการศึกษากรณีตัวอย่าง และคิดหาคำตอบ  ผู้เรียนแต่ละคนควรมีคำตอบของตนเตรียมไว้ก่อน แล้วจึงร่วมกันอภิปรายเป็นกลุ่มและนำเสนอผลการอภิปรายระหว่างกลุ่ม เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ผู้สอนพึงตระหนักว่าการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างนี้ มิได้มุ่งที่ความถูกต้องของคำตอบ คำถามสำหรับการอภิปรายนี้ ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างชัดเจนแน่นอน แต่ต้องการให้ผู้ เรียนเห็นคำตอบและเหตุผลที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดกว้างขึ้น มองปัญหาในแง่มุมที่หลากหลายขึ้น จะช่วยให้ผู้เรียนตัดสินใจมีความรอบคอบขึ้น ด้วยเหตุนี้การอภิปรายจึงมุ่งความสนใจไปที่เหตุผลหรือที่มาที่ผู้เรียนใช้ในการแก้ไขปัญหาเป็นสำคัญ

ข้อดีการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case) 

  • เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
  • เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริงและได้ฝึกแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้น ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะแก้ปัญหาเมื่อเผชิญปัญหานั้นในสถานการณ์จริง
  • เป็นวิธีการสอนทีู่้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนสูง ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน
  • เป็นวิธีการสอนที่ได้ผลดีมากสำหรับกลุ่มผู้เรียนที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลายสาขา

ข้อจำกัดของการสอนโดยการใช้กรณีตัวอย่าง (Case)   

  • หากกลุ่มผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้อาจไม่กว้างขวางเท่าที่ควร เพราะผู้เรียนมักมีมุมมองคล้ายกัน
บรรณานุกรม
ทิศนา แขมมณี (2552).  ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 10.กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น